Breaking News

โรคหอบหืด (Asthma) การรักษาและวิธีป้องกันโรคหอบหืด

โรคหอบหืด (Asthma) หรือที่คนทั่วไปมักเรียกว่า “โรคหอบหืด” คือ โรคที่เกิดจากการหดตัวหรือตีบแคบของระบบทางเดินหายใจเป็นครั้งคราว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบเหนื่อยเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง แต่ส่วนมากจะไม่มีอันตรายร้ายแรง ยกเว้นในรายที่เป็นมากหรือไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็อาจทำให้เกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นถาวรหรือทำเป็นอันตรายถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้

โรคหอบหืด (Asthma)

โรคหอบหืดเป็นโรคทางเดินหายใจเรื้อรังชนิดหนึ่ง (ไม่ใช่โรคติดต่อ) ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เช่น ในเด็กทำให้เกิดการพัฒนาช้า เรียนและทำงานได้ไม่เต็มที่ ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันหรือเล่นกีฬาได้อย่างเป็นปกติ ยิ่งเมื่อสภาพอากาศเกิดการแปรปรวนหรือมีมลภาวะเป็นพิษมากเท่าไหร่ ผู้ป่วยยิ่งได้รับผลกระทบในการดำเนินชีวิตมากขึ้นและส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรหมั่นสังเกตตัวเองและเตรียมพร้อมรับมือกับอาการกำเริบที่อาจเกิดขึ้นและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป โรคนี้เป็นโรคที่พบได้บ่อยและมีโอกาสเกิดได้ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ แต่มีความชุกสูงสุดอยู่ที่ช่วงอายุ 10-12 ปี ในวัยเด็กจะพบในเด็กชายได้มากกว่าเด็กหญิงประมาณ 1.5-2 เท่า ส่วนใหญ่มักมีอาการเกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่อายุก่อน 5 ปี มีส่วนน้อยที่เกิดอาการขึ้นครั้งแรกในวัยหนุ่มสาวและวัยสูงอายุ

การรักษาโรคหอบหืด (Asthma)

เมื่อมีอาการต้องสงสัยดังกล่าวก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม เมื่อไปพบแพทย์สิ่งที่แพทย์จะให้การดูแลรักษาก็คือ

  1. เมื่อมีอาการหอบหืดกำเริบฉับพลัน ให้สูดยากระตุ้นเบต้า 2 ทันที แต่ถ้าไม่มียาชนิดสูดแพทย์จะฉีดยากระตุ้นเบต้า 2 เข้าใต้ผิวหนังแทน ถ้าอาการของผู้ป่วยยังไม่ทุเลาแพทย์จะให้ยาสูดหรือยาฉีดดังกล่าวซ้ำได้อีก 1-2 ครั้ง ทุก 20 นาที เพราะสิ่งสำคัญอย่างแรกคือการรักษาและควบคุมโรคให้ทันและเร็วที่สุดเมื่อมีอาการ หากผู้ป่วยรู้สึกหายดีแล้ว แพทย์จะทำการประเมินอาการ สาเหตุกระตุ้น และประวัติการรักษาของผู้ป่วยรายนั้นอย่างละเอียด โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
  2. ถ้าผู้ป่วยมีอาการกำเริบและมีลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ควรรีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว ซึ่งแพทย์มักจะรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล (ส่วนในรายที่มีสาเหตุไม่ชัดเจน อาจต้องมีการตรวจพิเศษต่าง ๆ เพิ่มเติม)
  3. ในผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคหอบหืดกำเริบรุนแรงหรือภาวะหืดต่อเนื่อง แพทย์จะมีแนวทางในการรักษาดังนี้ (เมื่อควบคุมอาการได้แล้ว แพทย์จะนัดติดตามดูอาการภายใน 2-4 สัปดาห์)
  4. ผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดทุกราย แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาระยะยาวเพื่อควบคุมอาการให้น้อยลง ป้องกันอาการกำเริบรุนแรงเฉียบพลัน ฟื้นฟูสมรรถภาพของปอดให้กลับคืนสู่ปกติ ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ป้องกันการเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นอย่างถาวร

วิธีป้องกัน โรคหอบหืด

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันโรคหอบหืด เพราะโรคนี้มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ในเด็กที่พ่อแม่เป็นโรคหอบหืดลูกก็จะมีโอกาสเป็นโรคหอบหืดได้เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยที่ป้องกันไม่ได้ แต่ผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดก็สามารถสังเกตอาการของตนเอง ควบคุมไม่ให้มีอาการหอบหืดกำเริบ และใช้ชีวิตอย่างปกติได้ โดยการปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้และสิ่งระคายเคืองต่าง ๆ ทั้งในบ้าน ที่ทำงาน และสิ่งแวดล้อม โดยควรสังเกตว่าตัวเองมักมีอาการกำเริบในเวลาใด สถานที่ใด และหลังจากสัมผัสถูกอะไร
  2. ออกกำลังกายเป็นประจำ ผู้ป่วยโรคหอบหืดสามารถออกกำลังกายได้ โดยควรเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายหรือเป็นชนิดกีฬาที่เหมาะสม เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ขี่จักรยาน แอโรคบิค ว่ายน้ำ ฯลฯ แต่ต้องระวังอย่าให้หักโหมหรือเหนื่อยมากจนเกินไป หลีกเลี่ยงการออกกำลังในที่ที่มีอากาศแห้งและเย็น และควรเตรียมยาขยายหลอดลมชนิดสูดไว้ให้พร้อมเสมอ ถ้าเคยมีอาการหอบหืดจากการออกกำลังกายก็ควรใช้ยาสูดก่อนออกกำลังกายประมาณ 15-20 นาที และถ้ามีอาการกำเริบระหว่างออกกำลังกายก็ควรหยุดพัก แล้วใช้ยาสูดจนกว่าอาการจะทุเลาแล้วจึงค่อยเริ่มออกกำลังกายใหม่
  3. หาทางป้องกันหรือผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การทำงานอดิเรกที่ชอบ (เช่น เล่นดนตรี ฟังเพลง วาดภาพ ปลูกต้นไหม้) การออกกำลังกาย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกโยคะ รำมวยจีน) การสวดมนต์ ไหว้พระ ฝึกสมาธิ เจริญสติ
  4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  5. รับประทานอาหารที่มีคุณค่าโภชนาการ โดยเฉพาะอาหารที่ช่วยลดการอักเสบและการตีบตันบริเวณทางเดินหายใจ เช่น ผักผลไม้สด เมล็ดธัญพืช เนื้อปลา และดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ
  6. ระมัดระวังและป้องกันตัวเองไม่ให้เป็นไข้หวัดและโรคติดเชื้อของทางเดินหายใจ รวมถึงควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และวัคซีนป้องกันปอดบวมด้วย เพื่อป้องกันการเกิดโรคเหล่านี้ที่จะเป็นตัวกระตุ้นอาการหอบหืด
  7. หลีกเลี่ยงการใช้ต้านอักเสบที่ไม่สเตียรอยด์ ยาลดความดันโลหิตสูงกลุ่มปิดกั้นเบต้า และยาแอสไพริน ที่สำคัญเมื่อไปพบแพทย์ท่านอื่นก็ควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยว่าเป็นโรคหอบหืดอยู่ เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงการใช้ยาเหล่านี้

โรคหอบหืดแม้จะเป็นโรคเรื้อรัง แต่หากได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ ก็มักจะควบคุมอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้จนสามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติสุขเหมือนเช่นคนทั่วไป ส่วนผลการรักษาส่วนใหญ่นั้นก็มักควบคุมอาการได้ดี และในปัจจุบันก็พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะมีอัตราการเสียชีวิตที่ต่ำลงมาก